Thursday, November 12, 2009

การทดลองขับ ไมโครมอเตอร์ ตัวแรกของไทย



พิทยา  ดีกล้า นักศึกษาปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมไฟฟ้า) ประสบความสำเร็จในการทดลองขับไมโครมอเตอร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อคืนวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2552 ไมโครมอเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นชนิดขับด้วยไฟฟ้าสถิต ประกอบด้วย โรเตอร์แบบแปดขั้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.88 มิลลิเมตร และสเตเตอร์แบบ 12 ขั้ว ตัวมอเตอร์มีความหนาประมาณ 0.3 มิลลิเมตร ไมโครมอเตอร์ตัวนี้ผลิตขึ้นด้วยเทคนิคลิโธกราฟฟีด้วยแสงซินโครตรอนเอ็กซ์เรย์ (LIGA) ณ ห้องปฏิบัติการสิ่งประดิษฐ์จุลภาค สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
         ในการทดลองขับไมโครมอเตอร์นี้ ส่วนโรเตอร์ได้ถูกต่อลงกราวน์ และขั้วสเตเตอร์ 6 คู่ตรงข้าม ถูกป้อนด้วยพัลส์แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 600 V ความถี่ 2 Hz เรียงตามลำดับ การทดลองครั้งแรกนี้สามารถหมุนไมโครมอเตอร์ได้ 2-3 รอบ ดังแสดงในวีดีโอที่บันทึกไว้ได้ ขณะนี้ผู้วิจัยอยู่ระหว่างพัฒนาการควมคุมไมโครมอเตอร์ให้หมุนในทิศทางและด้วยความเร็วตามความต้องการ ซึ่งจะได้แจ้งความคืบหน้าในบล็อก Thailand MEMS ในโอกาสต่อไป



ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.นิมิต  ชมนาวัง
เว็บไซต์: http://sites.google.com/site/sutmems
อีเมล์: sut.mems@gmail.com

คำสำคัญ:
ไมโครมอเตอร์ชนิดขับด้วยไฟฟ้าสถิต, เมมส์, ลิก้า, ซินโครตรอน, เอ็กซ์เรย์ลิโธกราฟฟี, ห้องปฏิบัติการระบบกลไฟฟ้าจุลภาค มทส., วิศวกรรมไฟฟ้า มทส., สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

Wednesday, November 11, 2009

The first MEMS micro motor experiment in Thailand.



Pittaya  Deekla, a graduate student at the Suranaree University of Technology (Master of Electrical Engineering program), had achieved the first MEMS micro motor experiment in Thailand on Saturday night November 7th, 2009. This electrostatic micro motor had an eight-pole rotor of 0.88 millimeters in diameter and twelve stator poles. The rotor and stators were approximately 0.3 millimeters high. Fabrication of this micro motor was doned by synchrotron x-ray lithography (LIGA) technique at micromachining lab, the Synchrotron Light Research Institute, Thailand.
         In this experiment, The rotor was grounded and each of six opposite pole-pair of the stator were biased sequentially with 600 VDC 2 Hz pulses. A few turns of rotation had happened and recorded as shown in the video below. Complete controls of the micro motor rotation are underway. More updates will be published in this blog in near future.



For more information please contact Dr.Nimit Chomnawang
Web site: http://sites.google.com/site/sutmems
Email: sut.mems@gmail.com

Key words:
Electrostatic Micro Motor, MEMS, LIGA, Synchrotron, X-Ray Lithography, SUT MEMS, SUT Electrical Engineering, SLRI